วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Shadowing: Improving Listening and Speaking English skills

การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นอาจใช้เวลาพอสมควร ซึ่งจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล บทความนี้ผมขอพูดเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและพูด ซึ่งมีเทคนิคหนึ่งที่หน้าสนใจ คือ Shadowing ในประทศไทยของเราใช้เทคนิคนี้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรเพื่อให้มีศักยภาพในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคนี้ แต่จะพบมากในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจากการหาข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการชาวญี่ปุ่นที่ทำวิจัยเรื่องนี้จำนวนมาก

ผู้ริเริ่มนำเอาเทคนิคนี้มาปรับใช้ในการเรียนรู้ภาษาคือศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ อาร์กูเลส นักวิชาการชาวอเมริกา จากสามารถในการสื่อสารทางภาษาที่หลายหลากของอาร์กูเลสนั้นมาจากการฝึกฝนตนเองและการใช้เทคนิคเลียนเสียงของเจ้าของภาษาหรือ Shadowing ต่อมาได้มีนักวิชาการนำเทคนิคนี้มาศึกษาค้นคว้าหาประสิทธิภาพต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างๆ มากมาย  ซึ่งลักษณะของทฤษฎีนี้คือฟังเสียงของภาษาที่ได้ยิน เมื่อผู้เรียนได้ยินเสียงจากเจ้าของภาษาแล้วจะออกเสียงตามไปด้วยเปรียบเสมือนเป็นเงาของเสียงนั้นในกระจก  มีการใช้เทคนิคแชโดวิงในการเรียนรู้ภาษาของล่ามหรือนักแปลภาษา ในทตศวรรษนี้เทคนิค แชโดวิง เป็นเทคนิคที่นักการศึกษาให้ความสนใจ ซึ่งรวมไปถึงการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศอื่นๆ อีกด้วย (โย ฮามาดะ 2012)


การเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Shadowing มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เริ่มต้นจาก Blind Shadowing คือให้ฟังเสียงจากไฟล์และออกเสียงตาม เน้นฟังน้ำเสียงและจังหวะการพูด ไม่ต้องพยายามเข้าใจความหมาย ไม่ต้องดูสคริปต์เนื้อหา ให้ออกเสียงตามเสียงที่ได้ยินดังๆ ไม่เป็นประโยคไม่เป็นไร เน้นเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน แนะนำให้เคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างฝึกฝน ใช้วิธีการขั้นที่ 1 นี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพูดออกเสียงได้คล่องและชัดถ้อยชัดคำ แต่ละคนอาจจะใช้ระยะเวลาต่างกัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ระยะเวลาที่จะเห็นผลย่อมไม่หมือนกัน สิ่งสำคัญอยู่ที่การมีวินัยและความตั้งใจจริง

ขั้นที่ 2 เมื่อสามารถออกเสียงเลียนแบบไฟล์ต้นแบบได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ให้เริ่มออกเสียงไปพร้อมๆ กับดูสคริปต์เนื้อหาของเสียงที่ฟัง
2.1 โดยเริ่มจากหูฟังเสียง ปากออกเสียงตาม และสายตาอ่านเฉพาะสคริปต์ภาษาที่ต้องการเรียน ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะอ่านทัน
2.2 จากนั้นใช้หูฟังเสียง ปากออกเสียงตาม และสายตาให้อ่านเฉพาะสคริปต์ภาษาที่แปลความหมาย เพื่อให้เข้าใจความหมายของเสียงที่ได้ยิน ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าใจสิ่งที่ได้ยินทั้งหมด
2.3 ขั้นต่อไป หูฟังเสียง ปากออกเสียงตาม และสายตาอ่านสลับไปมาระหว่างภาษาที่ต้องการเรียนกับภาษาที่แปลความหมาย เพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่พูดกับความหมาย
2.4 กลับไปทำซ้ำข้อ 2.1 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง

ขั้นที่ 3 ศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหา คำศัพท์ และรูปประโยค
ในการฝึกฝนอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มของบทเรียน เช่น การฝึกฝนบทที่ 1-3  ในสองสัปดาห์แรกหรือมากกว่านั้น ใช้วิธี Blind Shadowing กับบทที่ 1 เมื่อบทที่ 1 ออกเสียงได้คล่องแล้ว ก็เริ่มฝึกขั้นที่ 2 ด้วยการดูสคริปต์ และในช่วงสัปดาห์เดียวกันก็เริ่มใช้ Blind Shadowing กับบทที่ 2 เป็นลักษณะของการเรียนแบบคาบเกี่ยวกันในกลุ่มบทเรียนที่แบ่งไว้ เพื่อให้เกิดการทำซ้ำ ฟังซ้ำๆ ออกเสียงซ้ำๆ อ่านซ้ำๆ ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญของการฝึกฝนภาษา โดยในแต่ละวันอย่างน้อยควรจะได้เริ่มใหม่หนึ่งบทเรียน   ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทุกๆวัน  บทเรียนที่ใช้วิธีฝึกฝนครบทุกขั้นตอน 1-3 แล้ว นำมาเปิดเสียงฟังไปในขณะทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

(อ้างอิงมาจาก http://www.xuehaohanyu.com, 4/05/2015)

ประโยชน์ของเทคนิคแชโดวิง (Shadowing)  (Gordon Luster, Language Education and Research Network, 2005)
1.             ช่วยพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ  การพูดเป็นทักษะหนึ่งที่อาศัยการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ  ในการฝึกทักษะการพูดหลายคนอาจคิดว่าต้องอาศัยเจ้าของภาษาหรือมีคนพูดภาษาอังกฤษด้วย  แต่การฝึกทักษะการพูดสามารถทำได้โดยอาศัยการฟังเทปหรือซีดี และเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากเทป
2.             ช่วยพัฒนาทัษะการฟังได้เป็นอย่างดี  เทคนิค Shadowing อาศัยการฟังเสียง ซึ่งผู้เรียนต้องฟังอย่างตั้งใจ เมื่อผู้เรียนตั้งใจฟัง ผู้เรียนจะได้ยินคำชัดขึ้นทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจข้อความที่ฟังมากยิ่งขึ้น
3.             ช่วยพัฒนาการออกเสียง เมื่อผู้เรียนเรียนด้วยเทคนิค Shadowing จะทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับและคุ้นเคยกับเสียง น้ำหนักเสียงสูง – ต่ำ รูปแบบการเน้นคำ ซึ่งการออกเสียงถือว่าสิ่งสำคัญต่อการพูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง  ในการพูดของเจ้าของภาษา  บางครั้งคำบางคำที่ไม่สำคัญจะถูกเน้นเสียงน้อยที่สุดจนบางครั้งคำนั้นไม่ปรากฎออกมา  การเรียนรู้ด้วยเทคนิค Shadowing จะทำให้ผู้เรียนฟังอย่างละเอียดจนสามารถแยกเสียงนั้นได้  และเมื่อผู้เรียนพยายามเลียนแบบเสียงของ
4.             ช่วยพัฒนาการพูดให้มีความคล่องแคล่วกระชับมากยิ่งขึ้น  ผู้เรียนส่วนใหญ่จะพูดช้าและลังเลทำให้การพูดเป็นไปอย่างกระอักกระอ่วน  เมื่อเรียนด้วยเทคนิค Shadowing ผู้เรียนจะพยายามพูดให้ทันเสียงต้นฉบับซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทาย  แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ ผู้เรียนจะเริ่มมีพัฒนาการจนสามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว
5.             ช่วยเพิ่มพูนคำศํพท์ การพูดของเจ้าของภาษาแต่ละครั้งนั้นในแต่ละประโยคมีคำศัพท์และวลีที่น่าสนใจมากมาย  เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เรียนภาษาอังกฤษถือว่าคำศัพท์ที่ผู้เรียนมีนั้นมีน้อยมาก  แต่เมื่อผู้เรียนใช้เทคนิค Shadowing ผู้เรียนจะพูดคำศัพท์หรือวลีเดียวกันกับเจ้าของภาษาและเมื่อพูดซ้ำๆ บ่อยๆ ผู้เรียนจะเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ ที่ใช้ในแต่ละประโยค  และสามารถจดจำคำศัพท์  รูปแบบของวลีได้ดีขึ้น
ช่วยพัฒนาความรู้เรื่องไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ  ผู้เรียนหลายคนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษไม่ค่อยถูกต้องตามหลักภาษานัก  แม้แต่เจ้าของภาษาเองแต่ถือว่าพวกเขายังใช่ผิดไม่บ่อยเท่าผู้เรียนภาษาอังกฤษ  การใช้เทคนิค Shadowing ผู้เรียนจะได้ฝึกพูดตามเสียงของเจ้าของภาษา  ซึ่งมีโครงสร้างประโยคค่อนข้างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  ทำให้ผู้เรียนซึมซับโครงสร้างนั้นๆ และเรียนรู้ไวยากรณ์ไปในตัวทำให้เข้าใจโครงสร้างและใช้ได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น